วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

พรบ.คอมพิวเตอร์2558

หมิ่นประมาท ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ ใน Social network นักเลงคีย์บอร์ดต้องอ่าน!
http://www.google.co.th/url?sa=i&source=imgres&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0CAgQjRxqFQoTCMiwipCtxscCFYUIjgodHoMASQ&url=http%3A%2F%2Fpopisaree.blogspot.com%2F2015%2F08%2F5-2558.html&ei=yHvdVcisCIWRuASehoLIBA&psig=AFQjCNGlCPWmw2eW8jS7yJAgvDjWMRJjrA&ust=1440664904208171
หลายคนเข้าใจว่านี่คือความผิดหมิ่นประมาททางคอม แต่ไม่ใช่นะครับ ความผิดฐานนี้ ว่ากันตรงๆเลย เรียกว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แต่บางครั้งก็มีการพ่วงความผิดหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาไป ตามมาตรา 328 หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา กระจายภาพ เสียง ไขข่าว หรือที่หนักหน่อย ก็มาตรา 112 หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ความผิดตาม พรบ.คอมนี้ มีหลากหลายการกระทำ สุดแต่กรรมใครกรรมมัน ผิดจริง คงไม่รอด เช่น ผู้โพสต์ ผู้แชร์ หรือแม้กระทั่างแฮกเกอร์ขั้นเทพ สำหรับสามัญชนอย่างเราทั่วไป โดยปรกติแล้ว พึงระมัดระวังที่มาตรา 14 ซึ่งเป็นมาตราที่สำคัญมาก มีข้อความ ตามนี้
มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)
ไม่ว่าจะทำผิดเฉพาะข้อใดข้อหนึ่ง เท่ากับผิดกฎหมายกรรมเดียว หรือหลายข้อรวมกัน ก็แล้วแต่ นั่นเป็นความผิดหลายกรรม ก็ต้องลงโทษเรียงกัน แต่โทษจะเกินตามที่กฎหมายกำหนดไม่ได้ และในส่วนที่เป็นความผิดหลายบทหลายกระทง ต้องลงโทษตามบทกฎหมายที่หนักที่สุด เช่นเมื่อไปรวมกับ 328 ต้องลงโทษตาม พรบ.คอม มาตรา 14 นี้ หรือถ้าไปรวมกับมาตรา 112 ก็ต้องลงโทษตามมาตรา 112 เพราะโทษหนักกว่า
ตัวอย่างที่เห็นๆเมื่อไม่กี่วันมานี้ การที่คนกลุ่มหนึ่ง นำภาพผู้หญิงคนหนึ่งมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย เผยแพร่กระจายไปทั่วทั้งโซเชียล และไลน์กลุ่ม อ้างว่าเป็นภาพของคนๆนี้ ซึ่งพอเมื่อเธอรู้ เธอบอกไม่ใช่เธอ ถ้ามีการแจ้งความ ตำรวจก็คงออกหมายเรียกคนที่กระทำผิด ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มาแสดงตัวตนต่อไป ซึ่งถ้านำมาเทียบแล้ว ความผิดที่เกิดขึ้น จะใช้ พรบ.คอมเพียวๆยังได้เลย หรือไปรวมกับ 328 ก็ได้ ในส่วนของ พรบ.คอม ตาม (1)+(4)+(5) ทั้งนำเข้า/ปลอม/เท็จ/ลามก/แชร์ต่อ
ถ้าจะมองชัดขึ้นมาอีกนิด การอ้างมาตรา 14 ตาม พรบ.คอม เช่นบริษัทหนึ่งไล่พนักงานคนหนึ่งออก แล้วฟอร์เวิร์ดเมล์ไปยังบริษัทอื่นๆที่ประกอบธุรกิจลักษณะเดียวกันว่า คนๆนี้โดนให้ออกจากการเป็นพนักงานบริษัทแล้วนะ เพราะทำผิดต่อหน้าที่ คนที่ถูกเอ่ยถึงอาจดำเนินคดีตามกฎหมายกับนายจ้างเก่า ในข้อกล่าวหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ทำให้เขาเสียหาย ตรงนี้ จะฟ้องเอง หรือแจ้งความดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้ และผู้เผยแพร่ข้อมูลก็ต้องตกเป็นผู้ต้องหา จะต้องไปพิสูจน์ในศาลว่า ข้อมูลที่บอกกล่าวไปนั้น ไม่เท็จ แต่เป็นเรื่องจริง เป็นต้น
ทนายความที่รับคดีที่เกี่ยวกับ พรบ.คอม ในฐานะทนายจำเลย ส่วนใหญ่จะลำบากใจ ด้วยตัวบทกฎหมาย ค่อนข้างมีโทษหนัก และถือว่าเป็นกฎหมายที่มีข้อต่อสู้น้อย เพราะต้องสู้ไปที่ข้อเท็จจริง หรือรากฐานของกระทำจริงๆแต่ถ้ามีการรวมกับความผิดหมื่นประมาท ตามกฎหมายอาญา ตรงนั้น ข้อต่อสู้มีเยอะกว่า แล้วการทำคดี จะทำด้วยความสบายใจ แต่อย่างไร ถ้ามีการติดต่อมาให้รับทำ ก็ต้องทำ เป็นนักรบ เลือกสนามรบไม่ได้หรอกครับ
คิดก่อนโพสต์ ดูหน้า-หลัง-ซ้าย-ขวา ให้ดี พลาดพลั้งมา ไม่คุ้ม เสียทั้งค่าทนาย ค่าใช้จ่ายอื่นๆค่าปรับทางคดี(ถ้ามี)และที่สำคัญ เสียความรู้สึก ส่วนนักแชร์ ก็ต้องคิดก่อนแชร์ ไม่ใช่แชร์ทุกโพสต์ ไม่อ่านหน้าอ่านหลัง ไม่ดูว่าจะเสี่ยงถูกฟ้องดำเนินคดีหรือเปล่า สรุปว่า ผู้โพสต์ ผู้แชร์ ต้องใช้สติเยอะๆนิดนึงหน่อยนะ
ที่มา:http://finlawtech.com/11-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D-%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-4-%E0%B8%AA-%E0%B8%84-58%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89/


กิจกรรมที่2 ประเภทโครงงานคอมพิวเตอร์

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
     คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ

1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

ที่มา:http://www.google.co.th/url?sa=i&source=imgres&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0CAkQjRwwAGoVChMIuaHP74XdxwIVQRmUCh0nqwzx&url=http%3A%2F%2Fdimitriictprojects.blogspot.com%2F2014%2F11%2Fblog-post.html&psig=AFQjCNGls6l37oPBcpxpNm_xfTbHHFDt-w&ust=1441444641296149
http://www.google.co.th/url?sa=i&source=imgres&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0CAkQjRwwAGoVChMI7sT87IXdxwIVAbOUCh1j7QcY&url=http%3A%2F%2Fwww.thaigoodview.com%2Fnode%2F164919&psig=AFQjCNH6rd8WAfrx76t6Wgw9pe7nfCp5AA&ust=1441444635748132
     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
     
โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ
         
2.
โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
ที่มา:http://www.google.co.th/url?sa=i&source=imgres&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0CAkQjRwwAGoVChMI89OKuoXdxwIVDB-UCh3fKw3F&url=http%3A%2F%2Fsoftware.thaiware.com%2F11534-BricsCAD.html&psig=AFQjCNGvxBFpshfJXGaNR_4V3uBtCQa4cw&ust=1441444528986493

         

     เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น โปรแกรมประเภท 3D
         
3. 
โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
ที่มา:http://www.google.co.th/url?sa=i&source=imgres&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0CAkQjRwwAGoVChMI_bGio4bdxwIVgxWUCh0gGA8_&url=https%3A%2F%2Fnamkwanmay.wordpress.com%2F2011%2F02%2F08%2F%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25A7%2F&psig=AFQjCNFF5B3ZgBJ-Cj52zxlhWpvifG1lPg&ust=1441444749607999  
     เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาอโรวาน่า ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ เป็นต้น
 
4.
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน(Application)
ที่มา:http://www.google.co.th/url?sa=i&source=imgres&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0CAkQjRwwAGoVChMImfuqjIXdxwIVBo6UCh3vLAGq&url=http%3A%2F%2Fwww.youtube.com%2Fwatch%3Fv%3DsMVCsvQ8fD0&psig=AFQjCNETLJR7rmBs6danUh_m0KgyFr8Hjw&ust=1441444433109471
     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี ซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจใช้วิธีทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาด้วย

5.
โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
ที่มา:http://www.google.co.th/url?sa=i&source=imgres&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0CAkQjRwwAGoVChMI7rSAyIbdxwIVgTKUCh0AOA5l&url=http%3A%2F%2Fwww.iphoneapptube.com%2Fipad%2F10-ipad%2F&psig=AFQjCNHMWgglaf3SFNuuyXJAZURBIRPFMw&ust=1441444826723951          
     เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมหมากฮอส เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้ป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ
ที่มา:http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content1.html


กิจกรรมที่1 โครงงานคอมพิวเตอร์

    
http://www.google.co.th/url?sa=i&source=imgres&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0CAkQjRwwAGoVChMIjsiz-6fGxwIVw0iOCh3YYQKS&url=http%3A%2F%2Fwww.acr.ac.th%2Facr%2FACR_E-Learning%2FCAREER_COMPUTER%2FCOMPUTER%2FM4%2FComputerProject%2Fcontent2.html&ei=XnbdVY6hJMORuQTYw4mQCQ&psig=AFQjCNFfLFdRMUpjKMwyhrV-jMYN1HDjKw&ust=1440663518686210
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าของทุก ๆ สังคมในโลกปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีด้านนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะคอยติดตามความก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาและเป็นสิ่ง ที่ไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่าอีกด้วย ดังนั้นการศึกษาเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์จึงต้องศึกษาหลักการและเนื้อหาพื้น ฐานเป็นสำคัญ
การศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งจำเป็นเสมือนกับการศึกษาวิทยา ศาสตร์ธรรมชาติ คอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนแปลงโลกของเราในด้านต่าง ๆ มากมายได้แก่
สังคมโดยส่วนใหญ่เปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคมสารสนเทศ
การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ มักขึ้นอยู่กับข้อมูลซึ่งได้จากระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญแทนเครื่องมืออื่น ๆ ในอดีต เช่น เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคิดเลขเป็นต้น
คอมพิวเตอร์ถูกใช้ในการออกแบบสถานการณ์หรือปัญหาที่ซับซ้อนต่าง ๆ
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารของโลกปัจจุบัน
ที่มา:www.chakkham.ac.th

ความสำคัญของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

        โครงงานคอมพิวเตอร์ คือ ผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โครงงานจึงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้เรียนจะหาหัวข้อโครงงานที่ตนเองสนใจ รวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างผลงานตามความต้องการได้อย่างเหมาะสม โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ
        โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
        
1.ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถที่เกิดจากการที่นักเรียนเป็นผู้ทำโครงงานต้องนำเสนอผลงานให้ ครูและเพื่อนนักเรียนให้เข้าใจโครงงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ทำโครงงานต้องสื่อสารความคิดในการสร้างสรรค์โครงงานด้วยการเขียน หรือด้วยปากเปล่า รวมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่ออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำเสนอแนวคิดในการจัด โครงงานให้ผู้อื่นได้เข้าใจ

  
2.ความสามารถในการคิด ซึ่งผู้เรียนจะมีการคิดในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1.การคิดวิเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาและแยกแยะสาเหตุว่าเกิดเนื่องจากอะไร
2.การคิดสังเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องนำความรู้ต่าง ๆ ที่เรียนมา รวมทั้งความรู้จากการค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์โครงงาน
3.การคิดอย่างสร้างสรรค์ เกิดจากการที่ผู้เรียนนำความรู้มาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ

http://www.google.co.th/url?sa=i&source=imgres&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0CAkQjRwwAGoVChMIyr_h96fGxwIVDB2OCh1_Xwq4&url=http%3A%2F%2Fwww.nrw.ac.th%2Fkrumod%2Fe-learning%2FUnit1-2-2.html&ei=VnbdVcq8Ooy6uAT_vqnACw&psig=AFQjCNHY93z3ZYSPvhXpApSxqNi8MBE9Pg&ust=1440663511062099
4.การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีการคิดไตร่ตรองว่าควรทำโครงงานใดและไม่ควรทำโครง งานใด เนื่องจากโครงงานที่สร้างขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น โครงงานระบบคำนวณเลขหวย สำหรับหาเลขที่คาดว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลจะออกในแต่ละงวด อาจส่งผลกระทบต่อสังคม ทำให้คนในสังคมเกิดความหมกมุ่นในกับการใช้เงินเล่นหวยมากขึ้น
5.การคิดอย่างเป็นระบบ เกิดจากการที่ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้ขั้นตอนในการพัฒนาโครงงาน คือ ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล พัฒนา หรือประดิษฐ์คิดค้นผลงาน รวมทั้งการสรุปผลและการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนและผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา
        
3.ความสามารถในการแก้ปัญหา เกิดจากการที่ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
        
4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เกิดจากการที่ผู้เรียนได้นำความรู้และกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนาโครงงาน และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการพัฒนาโครงงาน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

        
5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เกิดจากการที่ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม

ที่มา:https://krudarin.wordpress.com/ตกแต่งเว็บเพจด้วยกราฟิ/ความสำคัญของโครงงานคอมA1/

http://www.google.co.th/url?sa=i&source=imgres&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0CAkQjRwwAGoVChMIvIrFgqnGxwIViiSOCh1W-wat&url=https%3A%2F%2Fsites.google.com%2Fsite%2Fmatharikajeerapan%2Fkhxbkhet-khxng-khorng-ngan&ei=eXfdVfzpPIrJuATW9pvoCg&psig=AFQjCNFtHz6hWHHJTn90duoJBEaH_En9Zg&ust=1440663802074593

ขอบข่ายของโครงงาน


1. เป็นกิจกรรมการเรียนให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติดัวยตนเองโดยอาศัยหลักวิชาการทางทฤษฎีตามเนื้อหาโครงงานนั้นๆ หรือจากประสบการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นมากแล้ว
2. นักเรียนทุกคนพิจารณาจัดทำโครงงานด้วยตนเอง หรือเป็นกลุ่มโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ เป็นภาคเรียน หรือมากว่าก็ได้ แล้วแต่โครงงานเล็กหรือใหญ่
3. นักเรียนเป็นผู้พิจารณาริเริ่มสร้างสรรค์ คัดเลือกโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองตามความถนัด สนใจ และความพร้อม
4. นักเรียนเป็นผู้เสนอโครงงาน รายละเอียดของโครงงาน แผนปฏิบัติงานและการแปลผล รายงานผลต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้
5. เป็นโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักเรียนตามวัยและสติปัญญา รวมทั้งการใช้จ่ายเงินดำเนินงานด้วย
 ที่มา:https://www.gotoknow.org/posts/314100